ส่วนที่เกี่ยวข้องกัน, ระบบชื่อของส่วนประกอบ, การตรวจสอบ, จุดตรวจสอบ – Petzl RIG User Manual

Page 24: ความเข้ากันได, หลักการปฏิบัติงาน, การติดตั้ง, การทดลองปฏิบัต, ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐาน en 365, ข้อมูลทั่วไปของผลิตภัณฑ์ petzl

Advertising
background image

D21 rig D215000a (150609)

24

D21 rig D215000a (150609)

(TH) ไทย

เฉพาะข้อมูลทางเทคนิคที่แสดงไว้ในภาพอธิบายที่ไม่มีเครื่องหมายกากบาด / หรือ ไม่ได้แสดงเครื่องห

มายอันตรายเท่านั้น ที่รับรองมาตรฐานการใช้งาน

รายละเอียดเหล่านี้ไม่ได้บอกไว้อย่างละเอียดมาก ตรวจเช็ค เว็ปไซด์ www.petzl.com เพื่อหาข้อมูลล่าสุ

ดและข้อมูลเพิ่มเติมของเอกสารคู่มือ

ติดต่อ Petzl หรือตัวแทนจำหน่ายถ้ามีข้อสงสัย หรือไม่เข้าใจข้อความในคู่มือนี้

ตัวไต่ลงอัตโนมัติ / อุปกรณ์ควบคุมเชือก

1. ส่วนที่เกี่ยวข้องกัน

การไต่ลงด้วยระบบเชือก

มาตรฐาน EN 12841 type C การปรับเข้ากับเชือก

การเคลื่อนย้ายบุคคล ตั้งแต่หนึ่งคนหรือมากกว่า

มาตรฐาน EN 341: 1997 type A การกู้ภัยลงจากที่สูง

อุปกรณ์นี้จะต้องไม่ใช้รับน้ำหนักเกินกว่าที่ระบุไว้, หรือไม่นำไปใช้ในวัตถุประสงค์อย่างอื่นนอกเหนื

อกว่าที่ได้ถูกออกแบบมา

คำเตือน

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอุปกรณ์นี้ เป็นสิ่งที่เป็นอันตราย

ผู้ใช้ต้องมีความรับผิดชอบต่อการกระทำและการตัดสินใจ

ก่อนการใช้อุปกรณ์นี้, จะต้อง:

-อ่านและทำความเข้าใจคู่มือการใช้งาน

-การฝึกฝนโดยเฉพาะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอุปกรณ์นี้

-ทำความคุ้นเคยกับความสามารถและข้อจำกัดในการใช้งานของมัน

-เข้าใจและยอมรับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง

การขาดความระมัดระวังและละเลยต่อข้อมูลนี้ อาจมีผลให้เกิดการบาดเจ็บหรืออาจถึง

แก่ชีวิต

ความรับผิดชอบ

คำเตือน, การฝึกฝนเป็นพิเศษในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องก่อนการใช้งานเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

อุปกรณ์นี้จะต้องถูกใช้งานโดยผู้ที่มีความสามารถเพียงพอและมีความรับผิดชอบ, หรือใช้ในสถานที่ทีอ

ยู่ในความรับผิดชอบโดยตรงหรือควบคุมได้โดยผู้เชี่ยวชาญ

การฝึกฝนเพิ่มเติมเกี่ยวกับด้านเทคนิคอย่างพอเพียงและการเรียนรู้วิธีการป้องกันเป็นความรับผิดช

อบส่วนบุคคล

เป็นความรับผิดชอบส่วนบุคคลต่อความเสี่ยงและความชำรุดบกพร่อง, รวมทั้งการบาดเจ็บหรืออันต

รายต่อชีวิตที่อาจเกิดขึ้นระหว่างหรือภายหลังการใช้อุปกรณ์ที่ผิดวิธีใด ๆ ก็ตาม ไม่ควรใช้อุปกรณ์นี้,

ถ้าคุณไม่สามารถ หรือไม่อยู่ในสภาวะที่จะรับผิดชอบต่อความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

2. ระบบชื่อของส่วนประกอบ

(1) แผ่นเพลทเลื่อนด้านข้าง, (2) แผ่นป้องกันการเสียดสี, (3) บานพับ, (4) ลูกล้อ, (4bis) แกนลูกล้อ, (5)

แผ่นเพลทยึดตายตัว, (6) มือจับ, (7) ประตูเปิดป้องกันภัย, (8) สกรูล็อคแผ่นเพลทปิดข้าง

ตำแหน่งมือจับ

(A) การเคลื่อนย้าย, (B) ตำแหน่งการทำงาน, (C) การคุมเชือก, (D) การโรยตัวลง

คำศัพท์เฉพาะทาง

การเบรคด้วยมือ: การเบรคโดยการดึงเชือกทางด้านข้าง

วัสดุประกอบหลัก

อลูมีนั่มอัลลอยด์ ,สแตนเลส, ไนลอน

3. การตรวจสอบ, จุดตรวจสอบ

ก่อนการใช้งานแต่ละครั้ง

-ตรวจเช็คว่าไม่มีรอยแตกร้าว, เสียรูปทรง, มีตำหนิ, ชำรุด, มีการกัดกร่อนของสนิม, ฯลฯ

ตรวจเช็คการเสียดสีของลูกล้อ ถ้าเชือกลื่น, ให้เลิกการใช้ตัวอุปกรณ์ RIG (ดูหัวข้อ 7. Funtion test)

ตรวจเช็คการเลื่อนไหลของแผ่นเพลทเลื่อนด้านข้างเพื่อหาความผิดปกติ ถ้าแผ่นเพลทเลื่อนผ่านทางด้า

นบนของแกนลูกล้อ, ให้เลิกใช้ตัว RIG (ดูภาพประกอบ)

ตรวจเช็คส่วนประกอบของการล็อค ( ประตูเพื่อความปลอดภัย, สกรูล็อค, บานพับ)

เช็คการเคลื่อนไหวของลูกล้อและมือจับ, และการทำงานของสปริง ( ลูกล้อ, ประตูเพื่อความปลอดภัย,

การดีดตัวกลับของมือจับ)

ตรวจหาว่าไม่มีสิ่งแปลกปลอม (ทราย,ฯลฯ) ติดค้างอยู่ในกลไกของอุปกรณ์และไม่มีสารหล่อลื่นติด

ค้างในเชือก

ศึกษาข้อมูลขั้นตอนการตรวจเช็คเพื่อดูแลอุปกรณ์แต่ละชนิดของ PPE จากเว็ปไซด์ www.petzl.com/

ppe หรือจาก PETZL PPE CD-ROM

ติดต่อ Petzl หรือตัวแทนจำหน่ายถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับสภาพของอุปกรณ์นี้

ระหว่างการใช้งานแต่ละครั้ง

เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์อยู่เป็นประจำ และการต่อเชื่อมอุปกรณ์เ

ข้ากับอุปกรณ์ตัวอื่นในระบบ แน่ใจว่าทุกชิ้นส่วนของอุปกรณ์ในระบบอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องกับชิ้

นส่วนอิ่น ๆ

ตรวจเช็คว่าตัวล็อคอยู่ในตำแหน่งรับแรงกระชากที่ตำแหน่งหลักเสมอ ตรวจเช็คว่าประตูปิดล็อค

เพื่อลดความเสี่ยงจากการตก, เชือกที่อยู่ระหว่างตัวไต่ลงและจุดผูกยึด ต้องตึงอยู่เสมอ

4. ความเข้ากันได้

ตรวจเช็คง่าอุปกรณ์นี้ สามารถใช้งานเข้ากันได้ดีกับอุปกรณ์อื่นในระบบ (เข้ากันได้ดี =

ใช้งานด้วยกันได้โดยไม่ติดขัด)

เชือก

คำเตือน, ในบางกรณีเมื่อเชือกลื่นไหลจะทำให้กำลังเบรคของ RIG ลดลง, เช่น เชือกใหม่,

ปัญหาจากปลอกเชือก, เชือกที่เปียกหรือผ่านการแช่ในน้ำแข็ง, ฯลฯ (ดูคำอธิบายข้อมูลของเชือก)

การต่อเชื่อม

ต้องใช้ตัวล็อคสำหรับต่อเชื่อมที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน

ติดต่อ Petzl หรือตัวแทนจำหน่ายถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับสภาพของอุปกรณ์นี้

5. หลักการปฏิบัติงาน

เมื่อเชือกตึง (ด้วยการหยุดหรือตก), RIG จะหมุนรอบแกนบนตัวคาราไบเนอร์และลูกล้อจะบีบเชือก,

เพื่อให้เกิดแรงเบรค โดยการห้อยตัวด้วยการใช้เชือกด้านเบรค, มือเบรคจะมีส่วนช่วยในการบีบอัดขอ

งลูกล้อ มือจับจะกันให้ลูกล้อหยุดการบีบอัด, เพื่อให้เริ่มโรยตัวลงได้, ควรใช้ถุงมือในการควบคุมเชือก

ควรใช้ถุงมือในการควบคุมเชือก

6. การติดตั้ง

ต่อเชื่อมตัว RIG ด้วยตัวล็อค(คาราไบเนอร์)

การเปิดแผ่นเลื่อนปิดด้านข้าง วางตำแหน่งของมือจับ (C) เปิดแผ่นปิดลูกล้อ ใส่เชือกตามแนวที่สลักบ

อกไว้บนตัวอุปกรณ์ ปิดแผ่นเลื่อนปิดด้านข้าง (safety catch) บนตัวล็อคคาราไบเนอร์

คำเตือน: แผ่นเพลทเลื่อนปิดด้านข้างจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมบนแกนยึดลูกล้อ

และบนตัวคาราไบเนอร์

6A. การติดตั้งอุปกรณ์บนสายรัดนิรภัย

6B. การติดตั้งอุปกรณ์บนจุดผูกยึด

จะต้องเพิ่มความฝืดจากการเสียดสีโดยการเปลี่ยนทิศทางการเบรคด้านข้างของเชือกร่วมกับตัวคาร

าไบเนอร์

7. การทดลองปฏิบัติ

ก่อนการใช้งาน, ให้ตรวจเช็คว่าเชือกได้ใส่ถูกทิศทางและอุปกรณ์สามารถใช้งานได้ดี จะต้องใช้ระบบเส

ริมความปลอดภัยรองรับทุกครั้งที่ทำการตรวจเช็คอุปกรณ์นี้

คำเตือน อันตรายถึงแก่ชีวิต, อย่าให้มีสิ่งกีดขวางหรือติดขัดในการทำงานของอุปกรณ์หรือ

ส่วนประกอบ (ลูกล้อ, มือจับ) การหยุดยั้งอุปกรณ์ด้วยไม่แน่ใจจะมีผลต่อระบบการเบรค.

7A. การติดตั้งอุปกรณ์บนสายรัดนิรภัย

ดึงเชือกจากจุดผูกยึดผ่านทางด้านข้างของอุปกรณ์: เชือกจะติดอยู่ในตัวอุปกรณ์ ถ้าไม่เป็นตามนั้น, ให้

เช็คดูว่าใส่เชือกถูกวิธีหรือไม่

คำเตือน, ถ้าตัวอุปกรณ์ไม่สามารถใช้งานได้อีก (เชือกลื่นไหล) ,ให้เลิกใช้

ค่อย ๆ ทิ้งน้ำหนักตัวลงบนตัวอุปกรณ์ีทีละน้อย, วางมือจับตามตำแหน่ง (D) โรยตัวลงในขณะที่ก

ำเชือกเบรคด้านข้าง ค่อย ๆ ดึงมือจับด้วยมืออีกข้างเพื่อปล่อยให้เชือกไหล เมื่อปล่อยมือจับ, RIG

จะเกิดแรงเบรคต้านกับเชือก

7B. การติดตั้งอุปกรณ์บนจุดผูกยึด

เมื่อกดน้ำหนักเชือกลงทางด้านข้าง: เชือกมักจะติดขัดอยู่ในตัวอุปกรณ์ ถ้าไม่เป็นตามนั้น, ให้เช็คดูว่า

ใส่เชือกถูกวิธีหรือไม่

คำเตือน, ถ้าตัวอุปกรณ์ไม่สามารถใช้งานได้อีก (เชือกลื่นไหล) ,ให้เลิกใช้

8. การไต่ลงด้วยระบบเชือก

EN 12841: 2006 Type C

ข้อจำกัดในการรับแรงกระชาก : 150 กก.

RIG ตัวไต่ลง (มาตรฐานรองรับ EN 12841:2006) type C ใช้สำหรับปรับเชือกในการโรยตัวลงทำงา

น RIG เป็นอุปกรณ์สำหรับเบรคเชือกโดยการใช้มือควบคุมความเร็วในการไต่ลง และหยุดเชือกโดย

ทันทีที่ปล่อยมือจับ

ได้การรับรองมาตรฐาน EN 12841: 2006 type C: ใช้เชือกขนาด 10.5 -11.5 ม.ม. type A แบบ semi

-static (แกนเชือก + ปลอกเชือก)

หมายเหตุ: เอกสารรับรองการทดสอบที่น้ำหนัก 150 กก. โดยใช้กับเชือก Petzl 10.5 มม. - 11.5 มม.

8A. การไต่ลง

สำหรับหนึ่งคน

อุปกรณ์ต่อเชื่อมกับสายรัดนิรภัย (มือจับอยู่ในตำแหน่ง C) ควบคุมการไต่ลงโดยการยึดเกาะกับเชือก

เบรคด้านข้าง การไต่ลง, ให้ค่อย ๆ ดึงมือจับ (ตำแหน่ง D) ด้วยมือข้างหนึ่ง, และกำเชือกเบรคด้านข้า

งด้วยมืออีกข้างหนึ่ง

ปล่อยมือจับเพื่อหยุดการไต่ลง เมื่อมือจับถูกปล่อย มันจะดีดตัวกลับไปที่ตำแหน่ง (C)

กำเชือกด้านที่ใช้เบรคไว้เสมอ

8B. ตำแหน่งการทำงาน - การหยุดอย่างปลอดภัย

หลังจากการหยุดในตำแหน่งที่ต้องการแล้ว, สามารถทำงานได้โดยการปล่อยมือทั้งสองข้าง, ล็อค

อุปกรณ์บนเชือกโดยเลื่อนคันโยกมือจับไปในทิศทางตรงกันข้ามกับการไต่ลง (กลับไปตำแหน่ง B)

โดยไม่ใช้แรงบังคับมากเกินไป

การปลดออกจากระบบ, กำเชือกด้านเบรคให้แน่นและเลื่อนคันโยกมือจับในตำแหน่งไต่ลง (D)

เพื่อไต่ลง

ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐาน EN 12841

ข้อควรระวัง, RIG ตัวไต่ลง จะต้องใช้กับเชือก type A และอุปกรณ์เสริมความปลอดภัยบน

เชือกเส้นที่สอง(เชือกเซฟ) เช่น อุปกรณ์ Petzl ASAP ตัวกันตก

RIG ไม่เหมาะในการใช้งานในระบบกันตกตามมาตรฐาน EN 363

เชื่อมต่อตัวไต่ลงเข้ากับสายรัดนิรภัยด้วยตัวล็อคคาราไบเนอร์ที่ได้รับมาตรฐาน EN 362 อุปกรณ์อื่น ๆ

ที่ใช้ร่วมกับตัวบีบจับเชือกจะต้องได้มาตรฐานและอยู่ในระบบกฎเกณ์เดียวกัน

ไม่อนุญาตให้ใช้เชือกเซฟทำการรับแรงในขณะที่เชือกเส้นทำงานอยู่ในสภาพที่ตึง

ด้วยน้ำหนักที่ถูกกดอย่างแรงเกินไปอาจทำให้ระบบควบคุมเชือกเสียหาย

9. การช่วยเหลือ และเคลื่อยย้าย

EN 341 class A (1997)

ด้วยระดับความสูงที่ไม่เกิน: 200 เมตร

น้ำหนักของการทำงานตามปกติ: 30-150 กก

ตำแหน่งที่ต่ำกว่าจุดผูกยึด

อุปกรณ์อยู่กับจุดผูกยึด: การเบรคเชือกด้านข้างจะต้องเปลี่ยนทิศทางตามตัวล็อคคาราไบเนอร์ ค้างการเ

บรคเชือกด้านข้างและเลื่อนมือจับขึ้นไป (ที่ตำแหน่ง D) เพื่อให้เชือกไหล การเบรคจะถูกควบคุมด้วยกา

รบีบกดบนการเบรคเชือกด้านข้าง ปล่อยมือจับเพื่อหยุดการไต่ลง ล็อคอุปกรณ์บนเชือกโดยการเลื่อนคั

นโยกมือจับไปที่ตำแหน่ง B อย่าใช้แรงดันคันโยกไปที่ตำแหน่ง A เพราะจะทำให้ตัวอุปกรณ์เสียหาย

ข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐาน EN 341

-ต้องผูกเงื่อนที่ปลายสุดของเชือกเสมอ

-อุปกรณ์ที่ถูกเก็บจะต้องได้รับการป้องกันจากสภาพภูมิอากาศ

-ห้ามละเลยการควบคุมขณะโรยตัวลง: หรือลงด้วยความเร็วเกินความจำเป็น

-คำเตือน, อุปกรณ์อาจร้อนจัดและทำให้เชือกเสียหายได้

10. ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐาน EN 365

การวางแผนการช่วยเหลือ

คุณจะต้องมีแผนการกู้ภัย และรู้วิธีการทำได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่ประสบความยุ่งยากขึ้น

ในขณะที่ใช้อุปกรณ์นี้

จุดผูกยึด

จุดผูกยึดในระบบ จะต้องอยู่เหนือตำแหน่งของผู้ใช้งาน ตามข้อกำหนดของมาตรฐาน EN 795, ซึ่งระบุ

ไว้ว่าความแข็งแรงของจุดผูกยึดต้องไม่น้อยกว่า 10 kN

หลายหัวข้อที่ควรรู้

-เมื่อใช้อุปกรณ์หลายชนิดร่วมกัน, อาจเกิดผลร้ายต่อความปลอดภัยในกรณีที่อุปกรณ์ชนิดหนึ่งถูกลดป

ระสิทธิภาพลงด้วยอุปกรณ์ชนิดอื่น

-คำเตือน อันตราย, หลีกเลี่ยงการถูกสัมผัสกับสิ่งของมีคม หรือวัตถุที่สามารถกัดกร่อนได้

-ผู้ใช้งานต้องมีสภาพร่างกายแข็งแรง เหมาะกับกิจกรรมในที่สูง

-คู่มือการใช้งานของอุปกรณ์แต่ละชนิดที่ใช้เชื่อมต่อในอปุกรณ์นี้ต้องได้รับการยอมรับตามมาตรฐาน

-ถ้าอุปกรณ์ ถูกส่งไปจำหน่ายยังนอกอาณาเขตของประเทศผู้เป็นแหล่งผลิต ตัวแทนจำหน่ายจะต้องจัด

ทำคู่มือการใช้งานในภาษาท้องถิ่นของประเทศที่อุปกรณ์นี้ถูกนำไปใช้งาน

11. ข้อมูลทั่วไปของผลิตภัณฑ์ Petzl

อายุการใช้งาน / ควรยกเลิกการใช้อุปกรณ์เมื่อไร

สำหรับผลิตภัณฑ์ Petzl ที่ทำจาก พลาสติค หรือ สิ่งทอ, จะมีอายุการใช้งานมากที่สุด 10 ปี

นับจากวันที่ผลิต ไม่จำกัดอายุการใช้งาน สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ

ข้อควรระวัง: ในกิจกรรมที่มีการใช้อย่างรุนแรงอาจทำให้อุปกรณ์ต้องถูกเลิกใช้แม้หลังจากการใช้งานเ

พียงครั้งเดียว, ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของการใช้งานและสภาพแวดล้อม (สภาพที่แข็งหยาบ, สิ่งของมีคม,

สภาพอากาศที่รุนแรง, สารเคมี ฯลฯ)

อุปกรณ์จะต้องเลิกใช้ เมื่อ:

-มีอายุเกินกว่า 10 ปี สำหรับผลิตภัณฑ์ พลาสติค หรือสิ่งทอ

-ได้เคยมีการตกกระชากอย่างรุนแรง (เกินขีดจำกัด)

-เมื่อไม่ผ่านการตรวจเช็คสภาพ เมื่อมีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจ

-เมื่อไม่ทราบถึงประวัติการใช้งานมาก่อน

-เมื่อตกรุ่น ล้าสมัย จากการเปลี่ยนกฏเกณฑ์, มาตรฐาน, เทคนิค หรือ ความเข้ากันไม่ได้กับอุปกรณ์อื่น

ๆ ในระบบ ฯลฯ

ทำลายอุปกรณ์เพื่อหลีกเลี่ยงการนำกลับมาใช้อีก

การตรวจเช็คอุปกรณ์

นอกเหนือจากการตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ตามปกติก่อนการใช้งาน, จะต้องทำการตรวจเช็คอุปกรณ์อ

ย่างละเอียดโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ความถี่และความคุมเข้มในการตรวจสอบอุปกรณ์ต้องครอบคลุมตาม

ข้อกำหนดการใช้, ชนิดและความเข้มข้นในการใช้ Petzl แนะนำให้ทำการตรวจเช็คอุปกรณ์โดยผู้เชี่ยวช

าญมีกำหนดอย่างน้อย ทุก ๆ 12 เดือน

เพื่อช่วยให้สามารถดูแลรักษาอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง, อย่าแกะหรือดึงแผ่นป้ายเครื่องหมายบนอุป

กรณ์ออก

ผลจากการตรวจเช็คจะต้องบันทึกเป็นแบบฟอร์ม ถึงรายละเอียดดังนี้: ชนิดของอุปกรณ์, รุ่น,

รายละเอียดโรงงานผู้ผลิต, หมายเลขกำกับเฉพาะ, วันที่ผลิต, วันที่สั่งซื้อ, วันที่ใช้งานครั้งแรก,

หมายเหตุ: ปัญหาที่พบ, ความเห็น; ชื่อและลายเซ็นต์ของผู้ตรวจเช็ค

ดูข้อมูลตัวอย่างเพิ่มเติมได้ที่ www.petzl.com/ppe หรือ ที่ Petzl PPE CD-ROM

การเก็บรักษา, การขนส่ง

เก็บรักษาอุปกรณ์ในที่แห้งให้ห่างจากแสง UV, สารเคมี, สภาพอากาศที่รุนแรง, ฯลฯ

ทำความสะอาดและทำให้แห้งก่อนเก็บ

การดัดแปลง, การซ่อมแซม

การปรับปรุงหรือแก้ไขดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก Petzl เป็นข้อห้ามมิให้กระทำ (ยกเว้น

ในส่วนที่ใช้ทดแทน)

อุปกรณ์มีการรับประกันเป็นเวลา 3 ปี

เกี่ยวกับวัตถุดิบหรือความบกพร่องจากการผลิต ข้อยกเว้นจากการรับประกัน: การชำรุดบกพร่องจ

ากการใช้งานตามปกติ, ปฏิกิริยาจากสารเคมี, การปรับปรุงแก้ไขดัดแปลง, การเก็บรักษาไม่ถูกวิธี,

ความเสียหายจากอุบัติเหตุ, ความประมาทเลินเล่อ, จากการรั่วไหลของแบตเตอรี่ หรือการนำไปใช้งาน

ที่นอกเหนือจากที่อุปกรณ์นี้ถูกกำหนดไว้

ความรับผิดชอบ

PETZL ไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นทั้งทางตรง ทางอ้อม หรืออุบัติเหตุ หรือจากความเสียหายใด

ๆ ที่เกิดขึ้นจากการตก หรือผลจากการใช้ผลิตภัณฑ์นี้

Advertising