ส่วนที่เกี่ยวข้องกัน, ระบบชื่อของส่วนประกอบ, การตรวจสอบ, จุดตรวจสอบ – Petzl FALCON MOUNTAIN User Manual

Page 26: ความเข้ากันได, การสวมใส่และปรับขนาดสายรัดสะโพก, ตำาแหน่งพื้นที่การทำางานและการยับยั้งการตก, เชือกกู้ภัย, ห่วงคล้องอุปกรณ, ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐาน en 365, ข้อมูลทั่วไปของผลิตภัณฑ์ petzl

Advertising
background image

26

FALCON MOUNTAIN C385030E (080710)

(TH) ไทย

เฉพาะข้อมูลทางเทคนิคที่แสดงไว้ในภาพอธิบายที่ไม่มีเครื่องหมายกากบาด / หรือ ไม่ได้แสดง

เครื่องหมายอันตรายเท่านั้น ที่รับรองมาตรฐานการใช้งาน ตรวจเช็ค เว็ปไซด์ www.petzl.com. เพื่อหา

ข้อมูลล่าสุดของเอกสารคู่มือ

ติดต่อ PETZL หรือตัวแทนจำาหน่ายถ้ามีข้อสงสัย หรือไม่เข้าใจข้อความในคู่มือนี้

FALCON MOUNTAIN

สายรัดสะโพกแบบน้ำาหนักเบา

1. ส่วนที่เกี่ยวข้องกัน

อุปกรณ์นี้เป็นอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (PPE) สายรัดสะโพกสำาหรับการปีนป่าย, สายรัดเพื่อ

กำาหนดตำาแหน่งการทำางาน, สายรัดแบบมีน้ำาหนักเบาออกแบบมาเพื่อใช้งานกู้ภัย หรือ การใช้งาน

แบบยุทธวิธี

อุปกรณ์นี้จะต้องไม่ใช้รับน้ำาหนักเกินกว่าที่ระบุไว้, หรือไม่นำาไปใช้ในวัตถุประสงค์อย่างอื่นนอกเหนือ

กว่าที่ได้ถูกออกแบบมา

คำาเตือน

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอุปกรณ์นี้ เป็นสิ่งที่เป็นอันตราย

ผู้ใช้ต้องมีความรับผิดชอบต่อการกระทำาและการตัดสินใจ

ก่อนการใช้อุปกรณ์นี้, จะต้อง:

-อ่านและทำาความเข้าใจคู่มือการใช้งาน

-การฝึกฝนโดยเฉพาะเป็นสิ่งจำาเป็นสำาหรับอุปกรณ์นี้

-ทำาความคุ้นเคยกับความสามารถและข้อจำากัดในการใช้งานของมัน

-เข้าใจและยอมรับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง

การขาดความระมัดระวังและละเลยต่อข้อมูลนี้ อาจมีผลให้เกิดการบาดเจ็บหรืออาจถึงแก่

ชีวิต

ความรับผิดชอบ

คำาเตือน, การฝึกฝนเป็นพิเศษในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องก่อนการใช้งานเป็นสิ่งจำาเป็นอย่างยิ่ง

อุปกรณ์นี้จะต้องถูกใช้งานโดยผู้ที่มีความสามารถเพียงพอและมีความรับผิดชอบ, หรือใช้ในสถานที่ที

อยู่ในความรับผิดชอบโดยตรงหรือควบคุมได้โดยผู้เชี่ยวชาญ

การฝึกฝนเพิ่มเติมเกี่ยวกับด้านเทคนิคอย่างพอเพียงและการเรียนรู้วิธีการป้องกันเป็นความรับผิด

ชอบส่วนบุคคล

เป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้ใช้ต่อความเสี่ยงหรือความเสียหาย, การบาดเจ็บหรือเสียชีวิต อัน

อาจเกิดขึ้นระหว่างหรือภายหลังจากการใช้งานที่ผิดพลาดในทุกกรณี ไม่ควรใช้อุปกรณ์นี้, ถ้าคุณไม่

สามารถ หรือไม่อยู่ในสภาวะที่จะรับผิดชอบต่อความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

2. ระบบชื่อของส่วนประกอบ

สายรัดสะโพก

(1) สายรัดรอบเอว, (2) สายรัดสองเส้นใช้เป็นจุดยึดที่ตำาแหน่งหน้าท้องตามมาตรฐาน EN 813,

(3) ห่วงสำาหรับเชื่อมต่อ, (4) จุดยึดด้านข้างของสายรัดเอวตามมาตรฐาน EN 358, (5) จุดคล้องส

ำาหรับการเคลื่อนย้ายตามมาตรฐาน EN 358, (6) หัวเข็มขัดแบบ DoubleBack สำาหรับปรับเลื่อน

สายรัด, (7) ห่วงคล้องอุปกรณ์, (8) ช่องสำาหรับสอดใส่เครื่องมือ, (9) ระบบจัดเก็บสายรัดส่วนเกิน,

(10) สายรัดยางยืดแบบปรับได้, (11) ป้ายเครื่องหมายที่สอดเก็บไว้ในช่องเสริมของสายรัดเอว

วัสดุประกอบหลัก

-โพลีเอสเตอร์, ไนลอน (สิ่งทอ)

-เหล็กชุบ (หัวเข็มขัด)

3. การตรวจสอบ, จุดตรวจสอบ

ก่อนการใช้งานแต่ละครั้ง

ตรวจเช็คสายรัดที่จุดต่อยึด, ที่เข็มขัดปรับตำาแหน่ง และที่จุดเย็บติดกัน

ตรวจดูการตัดขาดของเส้นใย, สภาพเก่าชำารุดที่เกิดจากการใช้งาน, ความร้อน, หรือจากการถูกสัมผัส

กับสารเคมี, ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องเช็คการชำารุดเสียหายของเส้นด้ายเป็นหลัก

ตรวจดูว่า หัวเข็มขัดปรับสายรัด (DoubleBack buckles) ใช้งานได้อย่างถูกต้อง

ระหว่างการใช้งานแต่ละครั้ง

เป็นสิ่งสำาคัญที่ต้องตรวจเช็คสภาพของอุปกรณ์ แน่ใจว่าทุกชิ้นส่วนของอุปกรณ์ถูกต่อเชื่อมตรงตาม

ตำาแหน่งกับส่วนอื่นและตามจุดประสงค์การใช้งาน

ศึกษาข้อมูลขั้นตอนการตรวจเช็คเพื่อดูแลอุปกรณ์แต่ละชนิดของ PPE จากเว็ปไซด์ www.petzl.com/

ppe หรือจาก PETZL PPE CD-ROM

ติดต่อ PETZL หรือตัวแทนจำาหน่ายถ้ามีข้อสงสัยเกี่ยวกับสภาพของอุปกรณ์นี้

4. ความเข้ากันได้

ตรวจเช็คว่าอุปกรณ์นี้ สามารถใช้งานเข้ากันได้ดีกับอุปกรณ์อื่นในระบบ (เข้ากันได้ดี = ใช้งานด้วยกัน

ได้โดยไม่ติดขัด)

อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันไม่ได้เป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุอันเนื่องจากการต่อเชื่อมไม่ได้, การแตกร้าว,

หรือส่งผลกระทบต่อระบบความปลอดภัยของอุปกรณ์ชิ้นอื่น ๆ

อุปกรณ์อื่น ๆ ที่ติดยึดกับสายรัดสะโพก (จุดผูกยึด, ห่วงล็อค, เชือกสั้น ฯลฯ) ต้องได้มาตรฐานเดียวกัน,

ตัวอย่างเช่น ตัวล็อคมาตรฐาน EN 362.

5. การสวมใส่และปรับขนาดสายรัดสะโพก

ปลดสายรัดขาทั้งสองข้างออกโดยปรับที่หัวเข็มขัด DoubleBack

5A. คล้องสายรัดสะโพกด้วยสายรัดรอบเอว, สอดขาทั้งสองข้างและดึงสายรัดสะโพกขึ้นไปที่ตำาแหน่ง

รอบเอว

5B. ปรับสายรัดรอบเอวให้แน่นโดยดึงปรับแถบสายรัด

ม้วนปลายสายรัดส่วนเกินและเก็บสอดไว้ใต้สายยางยืด (ดูภาพประกอบ)

5C. ปรับสายรัดขาทั้งสองข้าง

การปรับขนาดและทดสอบการยับยั้ง

สายรัดนิรภัยต้องปรับขนาดให้สวมใส่ได้พอเหมาะและกระชับเพื่อช่วยลดอันตรายที่เกิดจากการบาด

เจ็บกรณีที่มีการตก

คุณต้องเคลื่อนไหวไปรอบ ๆ และลองผูกยึดแต่ละจุดคล้องเพื่อตรวจเช็คว่าสวมใส่สายรัดสะโพกได้

พอดีรู้สึกสบายเวลาปฏิบัติงานและได้ปรับขนาดที่เหมาะสมแล้ว

6. ตำาแหน่งพื้นที่การทำางานและการยับยั้งการตก

EN 358: 2000 สายรัดนิรภัยสำาหรับการทำางานและยับยั้งการตก

จุดคล้องต่าง ๆ ถูกออกแบบมาเพื่อการห้อยตัวในขณะที่คุณหยุดอยู่ที่ตำาแหน่งการทำางาน, หรือเพื่อ

ป้องกันการพลัดตกในกรณีที่คุณเข้าไปในบริเวณที่อาจจะมีการพลัดตกเกิดขึ้นได้

จุดเชื่อมต่อนี้จะต้องใช้เพื่อช่วยยับยั้งการตกหรือเพื่อหยุดที่ตำาแหน่งการทำางาน, ด้วยการตกที่ความ

สูงไม่เกิน: 0.5 m

จุดผูกยึดเหล่านี้ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้ป้องกันการตก เป็นสิ่งจำาเป็นที่จะเพิ่มเติมในตำาแหน่งการ

ทำางาน หรือการยับยั้งการตกจากการเคลื่อนย้าย ด้วยอุปกรณ์ป้องกันการตกส่วนบุคคล

6A. จุดเชื่อมต่อด้านข้างสายรัดรอบเอว

ใช้จุดยึดด้านข้างทั้งสองร่วมกันในการต่อเชื่อมกับเชือกสั้นดูดซับแรงในตำาแหน่งการทำางาน เพื่อช่วย

เพิ่มความสบายจากสายรัดรอบเอว ตรวจเช็คตัวต่อเชื่อมว่าได้ถูกปิดล็อคแล้ว

6B. จุดผูกยึดเพื่อการเคลื่อนย้ายด้านหลัง

7. เชือกกู้ภัย

สายรัดสะโพก:

EN 813: 2008

จุดเชื่อมต่อที่หน้าท้องที่มีไว้เพื่อต่อเข้ากับห่วงวงกลม.

ค่าการรับแรง: 100 กก

ออกแบบมาเพื่อการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าบนเชือกและเพื่อตำาแหน่งการทำางาน, จุดกยึดนี้ไม่ใช่จุด

ป้องกันการตกตามมาตรฐาน EN 363

ใช้จุดเชื่อมต่อเพื่อคล้องกับอุปกรณ์โรยตัว(descender), ตัวบีบจับเชือก(rope clamps) หรือเชือกสั้น

ดูดซับแรง, ฯลฯ

8. การปีนภูเขา

EN 12277 type C

จุดผูกยึดหน้าท้องที่ประกอบด้วยสายรัดสองเส้น หรือห่วงเชื่อมต่อ

ผูกยึดด้วยเงื่อนเชือกเลข 8 โดยการคล้องเข้ากับห่วงสายรัดที่เชื่อมต่อของสายรัดรอบขาและห่วงผูกยึด

ของสายรัดรอบเอว (ดูภาพประกอบ) ทำาการปรับเปลี่ยนได้แล้วแต่ขนาดของห่วงที่คล้อง

คำาเตือน, การผูกเงื่อนเชือกผิดพลาดอาจมีผลถึงบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตได้ ในกรณีที่ไม่มีการ

เสี่ยงต่อการพลัดตก, เช่น ในการปีนแบบ top-rope หรือการเดินบนธารน้ำาแข็ง, คาราไบเนอร์สองตัว

สามารถใช้ในการผูกยึดได้ (ห้ามใช้คาราไบเนอร์เพียงตัวเดียวเพื่อผูกยึด)

ใช้ห่วงคล้องเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์

9. ห่วงคล้องอุปกรณ์

ห่วงคล้องอุปกรณ์ ต้องใช้เพื่อยึดติดและคล้องอุปกรณ์เท่านั้น

คำาเตือน อันตราย, ห้ามใช้ห่วงคล้องอุปกรณ์เพื่อการคุมเชือก, โรยตัว, การผูกเชือกเพื่อห้อยตัว, หรือ

ใช้ห้อยตัวคน

10. ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐาน EN 365

การวางแผนการช่วยเหลือ

คุณจะต้องมีแผนการกู้ภัย และรู้วิธีการทำาได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่ประสบความยุ่งยากขึ้นในขณะที่

ใช้อุปกรณ์นี้

จุดผูกยึด

จุดผูกยึดในระบบ จะต้องอยู่เหนือตำาแหน่งของผู้ใช้งาน ตามข้อกำาหนดของมาตรฐาน EN 795, ซึ่งระบุ

ไว้ว่าความแข็งแรงของจุดผูกยึดต้องไม่น้อยกว่า 10 kN

หลายหัวข้อที่ควรรู้

-เมื่อใช้อุปกรณ์หลายชนิดร่วมกัน, อาจเกิดผลร้ายต่อความปลอดภัยในกรณีที่อุปกรณ์ชนิดหนึ่งถูกลด

ประสิทธิภาพลงด้วยอุปกรณ์ชนิดอื่น

-คำาเตือน อันตราย, หลีกเลี่ยงการถูกสัมผัสกับสิ่งของมีคม หรือวัตถุที่สามารถกัดกร่อนได้

-ผู้ใช้งานต้องมีสภาพร่างกายแข็งแรง เหมาะกับกิจกรรมในที่สูง คำาเตือน, การขาดความระมัดระวังและ

ละเลยต่อข้อมูลนี้ อาจมีผลให้เกิดการบาดเจ็บหรืออาจถึงแก่ชีวิต

-คู่มือการใช้งานของอุปกรณ์แต่ละชนิดที่ใช้เชื่อมต่อในอปุกรณ์นี้ต้องได้รับการยอมรับตามมาตรฐาน

-ถ้าอุปกรณ์ ถูกส่งไปจำาหน่ายยังนอกอาณาเขตของประเทศผู้เป็นแหล่งผลิต ตัวแทนจำาหน่ายจะต้องจัด

ทำาคู่มือการใช้งานในภาษาท้องถิ่นของประเทศที่อุปกรณ์นี้ถูกนำาไปใช้งาน

11. ข้อมูลทั่วไปของผลิตภัณฑ์ Petzl

อายุการใช้งาน / ควรยกเลิกการใช้อุปกรณ์เมื่อไร

สำาหรับผลิตภัณฑ์ Petzl ที่ทำาจาก พลาสติค หรือ สิ่งทอ, จะมีอายุการใช้งานมากที่สุด 10 ปี นับจากวัน

ที่ผลิต ไม่จำากัดอายุการใช้งาน สำาหรับผลิตภัณฑ์ที่ทำาจากโลหะ

ข้อควรระวัง: ในกิจกรรมที่มีการใช้อย่างรุนแรงอาจทำาให้อุปกรณ์ต้องถูกเลิกใช้แม้หลังจากการใช้งาน

เพียงครั้งเดียว, ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดของการใช้งานและสภาพแวดล้อม (สภาพที่แข็งหยาบ, สิ่งของมี

คม, สภาพอากาศที่รุนแรง, สารเคมี ฯลฯ)

อุปกรณ์จะต้องเลิกใช้ เมื่อ:

-มีอายุเกินกว่า 10 ปี สำาหรับผลิตภัณฑ์ พลาสติค หรือสิ่งทอ

-ได้เคยมีการตกกระชากอย่างรุนแรง (เกินขีดจำากัด)

-เมื่อไม่ผ่านการตรวจเช็คสภาพ เมื่อมีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจ

-เมื่อไม่ทราบถึงประวัติการใช้งานมาก่อน

-เมื่อตกรุ่น ล้าสมัย จากการเปลี่ยนกฏเกณฑ์, มาตรฐาน, เทคนิค หรือ ความเข้ากันไม่ได้กับอุปกรณ์

อื่น ๆ ในระบบ ฯลฯ

ทำาลายอุปกรณ์เพื่อหลีกเลี่ยงการนำากลับมาใช้อีก

การตรวจเช็คอุปกรณ์

นอกเหนือจากการตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ตามปกติก่อนการใช้งาน, จะต้องทำาการตรวจเช็คอุปกรณ์

อย่างละเอียดโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ความถี่และความคุมเข้มในการตรวจสอบอุปกรณ์ต้องครอบคลุม

ตามข้อกำาหนดการใช้, ชนิดและความเข้มข้นในการใช้ Petzl แนะนำาให้ทำาการตรวจเช็คอุปกรณ์โดยผู้

เชี่ยวชาญมีกำาหนดอย่างน้อย ทุก ๆ 12 เดือน

เพื่อช่วยให้สามารถดูแลรักษาอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง, อย่าแกะหรือดึงแผ่นป้ายเครื่องหมายบน

อุปกรณ์ออก

ผลของการตรวจเช็คควรได้รับการบันทึกไว้เป็นแบบฟอร์มประกอบด้วยรายละเอียดต่อไปนี้: ชนิดของ

อุปกรณ์, รุ่น, รายละเอียดของผู้ผลิต, หมายเลขกำากับ หรือ เลขที่เฉพาะของอุปกรณ์,วันเดือนปีที่ผลิต,

วันที่สั่งซื้อ, วันที่ถูกใช้งานครั้งแรก, วันที่ตรวจเช็คครั้งต่อไป, ปัญหาที่พบ, ความเห็น, ชื่อและลายเซ็น

ต์ผู้ตรวจเช็คและผู้ใช้งาน

ดูข้อมูลตัวอย่างเพิ่มเติมได้ที่ www.petzl.com/ppe หรือ ที่ Petzl PPE CD-ROM

การเก็บรักษา,การขนส่ง

เก็บรักษาอุปกรณ์ในที่แห้งให้ห่างจากแสง UV, สารเคมี, สภาพอากาศที่รุนแรง, ฯลฯ ทำาความสะอาด

และทำาให้แห้งก่อนเก็บ

การดัดแปลง, การซ่อมแซม

การปรับปรุงหรือแก้ไขดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก Petzl เป็นข้อห้ามมิให้กระทำา (ยกเว้น ใน

ส่วนที่ใช้ทดแทน)

อุปกรณ์มีการรับประกันเป็นเวลา 3 ปี

เกี่ยวกับวัตถุดิบหรือความบกพร่องจากการผลิต ข้อยกเว้นจากการรับประกัน: การชำารุดบกพร่องจาก

การใช้งานตามปกติ, ปฏิกิริยาจากสารเคมี, การปรับปรุงแก้ไขดัดแปลง, การเก็บรักษาไม่ถูกวิธี, ความ

เสียหายจากอุบัติเหตุ, ความประมาทเลินเล่อ, จากการรั่วไหลของแบตเตอรี่ หรือการนำาไปใช้งานที่นอก

เหนือจากที่อุปกรณ์นี้ถูกกำาหนดไว้

ความรับผิดชอบ

PETZL ไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นทั้งทางตรง ทางอ้อม หรืออุบัติเหตุ หรือจากความเสียหายใด

ๆ ที่เกิดขึ้นจากการตก หรือผลจากการใช้ผลิตภัณฑ์นี้

เครื่องหมายและข้อมูล

a. ข้อมูลบ่งบอกการผลิตของอุปกรณ์ PPE นี้

b. ข้อมูลของมาตรฐาน CE ที่อุปกรณ์ได้รับการทดสอบ

c. ข้อมูล: แหล่งผลิต = รายละเอียดอุปกรณ์ + หมายเลขกำากับเฉพาะ

d. ขนาด

e. หมายเลขกำากับเฉพาะ

f. ปีที่ผลิต

g. วันที่ผลิต

h. การดูแลควบคุม หรือชื่อของผู้ตรวจสอบ

i. ข้อมูลเพิ่มเติม

Advertising