Th) ไทย วิธีการใช้งาน, ส่วนของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกัน, คำเตือน – Petzl NAVAHO BOD CROLL FAST User Manual

Page 24: ความรับผิดชอบ, ระบบชื่อของส่วนประกอบ, การตรวจสอบ,จุดที่ต้องตรวจสอบ, ภาพอธิบาย 1. ห่วงล็อคบังคับทิศทาง, ภาพอธิบาย 2. การสวมใส่สายรัดนิรภัย, ขนาดของเชือก, ภาพอธิบาย 6. การติดตั้งบนเชือก

Advertising
background image



C71CFO NAVAHO BOD CROLL FAST C71503-A (011206)

(TH) ไทย

วิธีการใช้งาน

A

เฉพาะข้อมูลทางเทคนิคที่ไม่แสดงเครื่องหมายกากบาด และ / หรือไม่ได้แสดงเครื่องหมายอันตรายเท่านั้นที่ได้ผ่านการรับรอง

มาตรฐาน. ตรวจเช็คข้อมูลล่าสุดได้จากเว็ปไซด์ www.petzl.com

ติดต่อ PETZL หรือตัวแทนจำหน่ายถ้ามีข้อสงสัยหรือไม่เข้าใจข้อมูลทางเทคนิคเหล่านี้.

ส่วนของอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกัน

สายรัดนิรภัยแบบเต็มตัวกันตก, เข็มขัดรัดอยู่กับที่,สายรัดสะโพก.

สายรัดนิรภัยที่ใช้ CROLLในระบบไต่ขึ้นเชือก.

อุปกรณ์นี้จะต้องไม่ใช้รับน้ำหนักที่เกินขีดจำกัดของมัน, และไม่นำไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่นที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้.

คำเตือน

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์ชนิดนี้เป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง. 

ผู้ใช้จะต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่กระทำและการตัดสินใจ.

ก่อนการใช้อุปกรณ์ชนิดนี้, ควรจะต้อง:

-อ่านและทำความเข้าใจข้อแนะนำการใช้งานให้ละเอียด.

-ฝึกฝนการใช้อุปกรณ์ได้อย่างถูกวิธี.

-ทราบถึงรายละเอียดของอุปกรณ์และข้อจำกัดในการใช้งาน.

-ทำความเข้าใจและรับรู้ถึงความเสี่ยง.

การนำอุปกรณ์ไปใช้โดยขาดการเรียนรู้ที่ถูกต้องอาจมีผลให้เกิดอันตรายจนถึงแ

ก่ชีวิต.

ความรับผิดชอบ

คำเตือน, การฝึกฝนวิธีใช้อุปกรณ์ก่อนการใช้งานเป็นสิ่งจำเป็น.

อุปกรณ์นี้ต้องถูกใช้โดยบุคคลที่มีวุฒิภาวะและมีความรับผิดชอบเท่านั้น, หรือใช้ในสถานที่ที่อยู่ภายใต้ความควบคุมของบุค

คลที่มีความสามารถรับผิดได้เท่านั้น.

การฝึกฝนให้เพียงพอและการเรียนรู้ถึงเทคนิควิธีการใช้อุปกรณ์ให้ถูกต้องเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ใช้งานเอง.

เป็นความรับผิดชอบส่วนบุคคลต่อความเสี่ยงและความชำรุดบกพร่อง, การบาดเจ็บกรืออันตรายต่อชีวิตที่อาจเกิดขึ้นระหว่

างหรือภายหลังการใช้อุปกรณ์ที่ผิดวิธีใด ๆ ก็ตาม. ไม่ควรใช้อุปกรณ์นี้, ถ้าคุณไม่สามารถหรือไม่อยู่ในสภาวะที่จะรับผิดชอ

บต่อความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น.

ระบบชื่อของส่วนประกอบ

สายรัดนิรภัย

-สายรัดอก: (1) EN 361 จุดยึดสำหรับห้อยตัว, (2) ตัวล็อคปรับสายของจุดยึดตัวต่อ, (3) EN 361 จุดยึดตัวต่อที่ตำแหน่งหน้าอ

ก, (4) EN 12841 ส่วนที่ยึดต่อกับCROLL, (5) แถบจุดยึดหลักสำหรับเชื่อมต่อต่อตัวต่ออุปกรณ์ต่างๆ.

-สายรัดสะโพก: (6) แถบสายรัดเอว, (7) EN 358, EN 813, จุดเชื่อมที่หน้าท้อง, (8) EN 358 จุดยึดต่อด้านข้างเอว,

(9) ตัวล็อคเชื่อมต่อสายรัดอกกับส่วนของสายรัดเอว EN 358 จุดยึดต่อยับยั้งการตก, (10) ตัวล็อคปรับสายด้านหลังแบบดับ

เบิ้ลล็อค, (10b) ตัวล็อคแบบปลดล็อคเร็ว, (11) ห่วงคล้องอุปกรณ์, (12) ช่องสำหรับใส่เครื่องมือ, (13) แถบสายรัดรับแรง,

(14) แถบสายรัดแบบยืด, (15) ป้ายแถบแสดงเครื่องหมายที่ติดแนบอยู่ด้านในของแถบสายรัดเอว.

CROLL ตัวจับเชือกที่หน้าท้อง

(16) ลูกเบี้ยว, (17) กลไก/ตัวจับป้องกันภัย, (18) รูเชื่อมต่อ.

วัสดุประกอบหลัก

สายรัดนิรภัยรุ่นNAVAHO BOD FAST: โพลีเอสเตอร์, เหล็ก (ตัวล็อคปรับสายรัด), อลูมีนั่มอัลลอยด์ (จุดเชื่อมต่อ).

CROLL ตัวจับเชือกที่หน้าท้อง: อลูมีนั่มอัลลอยด์ (ลำตัว), แผ่นเหล็กเคลือบ(ลูกเบี้ยว), โพลีเอมายด์ (ตัวจับป้องกันภัย).

การตรวจสอบ,จุดที่ต้องตรวจสอบ

ก่อนการใช้งานแต่ละครั้ง 

สายรัดนิรภัย

ตรวจเช็คจุดยึดต่อที่แถบสายรัด, ที่ตัวล็อคปรับสายรัดและรอยเย็บที่จุดป้องกันภัย.

ตรวจดูรอยฉีกขาดบนสายรัด, สภาพชำรุดจากการใช้งาน, จากความร้อน,และการสัมผัสกับสารเคมี, ฯลฯ. ตรวจสอบให้ละเ

อียดสำหรับการหลุดลุ่ยของเส้นใย.

เช็คให้แน่ใจว่าตัวล็อคสายรัดด้านหลังและตัวล็อคปลดเร็วยังคงใช้งานได้ตามปกติ.

ห่วงล็อคบังคับทิศทาง

ก่อนการใช้งานแต่ละครั้ง, เช็คที่ลำตัว

ตรวจเช็คปลอกล็อคว่าหมุนได้ตามปกติ (หมุนได้สุดจนมองไม่เห็นแกน) และสามารถขันแน่นได้ตามหน่วย 3 Nm.

CROLL ตัวจับเชือกที่หน้าท้อง

ก่อนการใช้งานทุกครั้ง, ตรวจเช็คสภาพของลำตัว, รูเชื่อมต่อ, ลูกเบี้ยวและตัวจับนิรภัย (รอยแตก, รอยขีดข่วน, การผิดรูปร่าง,

สึกกร่อน, เกิดสนิม), สปริงและระบบของลูกเบี้ยว. ต้องแน่ใจว่าฟันที่เกาะเชือกไม่สึกหรอ. ข้อควรระวัง, อย่าใช้ตัวจับเชือกที่มี

สภาพฟันสึกหรอหรือหลุดร่อนออก.

ในระหว่างใช้งาน

เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องหมั่นตรวจเช็คสภาพของอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ. ตรวจเช็คการเชื่อมต่อของมันกับอุปกรณ์อื่นในระบบแล

ะต้องแน่ใจว่าอุปกรณ์ทุกชนิดในระบบอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องตามความมุ่งหมายที่กำหนดมาให้ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่น.

ศึกษารายละเอียดข้อแนะนำการตรวจสอบอุปกรณ์แต่ละชนิดของ PPE ที่เว็ปไซด์ www.petzl.com/ppe หรือศึกษาจาก

PETZL PPE CD-ROM.

ติดต่อ PETZL หรือตัวแทนจำหน่าย กรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอุปกรณ์นี้.

เลิกใช้อุปกรณ์นี้เมื่อพบว่ามีการลดลงของการรับแรงกระชากหรือระบบทำงานได้ไม่เต็มที่.

B

ภาพอธิบาย 1. ห่วงล็อคบังคับทิศทาง

ห่วงล็อค maillon rapideใช้เป็นส่วนประกอบของสายรัดนิรภัยโดยการเชื่อมต่อด้านหน้าของสายรัดอกกับสายรัดรอบเอว.

จะต้องขันเกลียวได้แน่นที่หน่วย 3 Nm เสมอ (ทำการหมุนและคลายเกลียวด้วยมือ).

ห้ามใช้เชื่อมต่อกับเชือกสั้นนิรภัยหรือเชือกรับแรงตกกระชาก.

C

ภาพอธิบาย 2. การสวมใส่สายรัดนิรภัย

ทำการเปิดล็อคห่วงล็อคเร็วที่สายรัดขาออก.

2A. กางแถบสายรัดไหล่ออก,จับส่วนรอบเอวของสายรัดนิรภัยไว้ให้แน่นและสอดเท้าเข้าที่สายรัดขาทั้งสองข้าง.

2B. วางตำแหน่งสายรัดหัวไหล่ทั้งสองข้าง.

2C. ปรับสายรัดเอวโดยการดึงที่แถบสายรัดรอบเอว. เก็บส่วนปลายสายรัดโดยสอดเข้าที่เก็บสายรัด (แถบแบนที่ยึดกับส

ายรัดรอบเอว).

-แถบสายสั้น: ใช้ที่เก็บสายด้านหน้าของตัวล็อคปรับสาย.

-แถบสายยาว: สอดปลายสายผ่านช่องที่เย็บติดอยู่กับแถบสายรัดรอบเอวแล้วสอดเก็บในช่องด้านหลัง.

2D. ทำการล็อคตัวล็อคเร็วและปรับสายรัดขาทั้งสอง. ระวังสิ่งแปลกปลอมที่อาจขัดขวางการทำงานของตัวล็อคแบบปลดเร็ว

(เช่น ก้อนกรวด, ทราย, เสื้อผ้า...). ตรวจเช็คว่าการล็อคถูกต้อง.

2E. ปรับสายรัดไหล่ทั้งสองข้าง. เก็บส่วนปลายของสายรัดโดยใช้ที่เก็บสายบนไหล่ทั้งสองข้าง.

2F. การทำการปรับสายรัดที่จุดยึดเพื่อห้อยตัวครั้งแรก

การปรับที่จุดนี้จะทำเมื่อเริ่มการสวมใส่สายรัดนิรภัยในครั้งแรกเท่านั้น. โดยการให้คนอื่นช่วยปรับให้.

สอดสายรัดไปที่เก็บสายรัดด้านหลังโดยให้ตึงซ้อนกันระหว่างตัวล็อคสายทั้งสอง, (2) และ (9) (อย่าให้หลวมหรือหย่อน).

แน่ใจว่าได้พับเก็บปลายสายรัดเรียบร้อยแล้ว (เก็บให้เรียบ-ไม่โป่งหรือหย่อน) ในช่องที่เก็บสายเพื่อไม่ให้เกะกะในขณะทำงาน.

ปรับตำแหน่งของจุดเชื่อมต่อเพื่อห้อยตัวให้เหมาะสมกับขนาดรูปร่างของตัวผู้ใช้งานเท่านั้น. คือตำแหน่งที่อยู่ระดั

บเดียวกับหัวไหล่. ถ้าจุดห้อยตัวด้านหลังอยู่ต่ำเกินไป, คุณจะห้อยตัวอยู่ต่ำมากเกินไปในขณะที่เกิดการยับยั้งการตก.

ถ้าจุดห้อยด้านหลังอยู่สูงเกินไป, คุณจะรู้สึกถึงการถูกกดทับ.

การปรับขนาดและทดสอบการยับยั้ง

สายรัดนิรภัยจะต้องปรับให้พอดีเพื่อช่วยลดแรงตกกระชากในกรณีที่มีการตกเกิดขึ้น.

ผู้ใช้จะต้องเคลื่อนไหวในขณะแขวนห้อยตัวโดยสวมใส่สายรัดนิรภัย (เพื่อทดสอบการยับยั้งการตก) จากจุดเชื่อมต่อด้วยอุปกร

ณ์เพื่อเช็คว่าสายรัดมีขนาดพอดี,ให้ความรู้สึกสบายเหมาะสมกับสภาพของงานด้วยการปรับที่เหมาะสมที่สุด.

D

การยับยั้งการตก

ภาพอธิบาย 3. EN 361: 2002 สายรัดนิรภัยสำหรับการยับยั้งการตก

สายรัดแบบเต็มตัวสำหรับยับยั้งการตก, เป็นส่วนประกอบของระบบยับยั้งการตกตามข้อกำหนดมาตรฐาน EN 363

(ระบบยับยั้งการตกส่วนบุคคล). จะต้องใช้ในการเชื่อมต่อกับจุดผูกยึดที่ได้มาตรฐาน EN 795, ตัวล็อคที่ได้มาตรฐานEN 362 ,

เชือกสั้นดูดซับแรงที่ได้มาตรฐานEN 355, ฯลฯ.

3A. จุดเชื่อมต่อที่ตำแหน่งหน้าอก 

3B. จุดเชื่อมต่อเพื่อห้อยตัว

ใช้เฉพาะจุดนี้เท่านั้นเชื่อมต่อกับระบบยับยั้งการตก (เช่นกับการเคลื่อนที่ในระบบยับยั้งการตก,กับเชือกสั้นดูดซับแรง,

หรือกับระบบอื่นที่อธิบายอยู่ในมาตรฐานthe EN 363). สำหรับเอกสารอ้างอิง, จุดเชื่อมต่อนี้จะบ่งบอกด้วยตัวอักษร ‘A’.

ช่องว่างระหว่างจุดตก: ช่องระหว่างพื้นที่ใต้ผู้ใช้งาน

ช่องว่างที่อยู่ต่ำกว่าตัวผู้ใช้งานจะต้องเพียงพอกับการป้องกันผู้ใช้งานตกใส่เครื่องกีดขวางต่างๆ ในกรณีที่มีการตก.

รายละเอียดของการคำนวณพื้นที่ว่างสามารถค้นหาได้จากข้อมูลทางเทคนิคสำหรับส่วนประกอบอื่นๆ (เชือกสั้นดูดซับแรง,

การเคลื่อนไหวในระบบยับยั้งการตก, ฯลฯ.).

E

ตำแหน่งพื้นที่การทำงานและข้อจำกัด

ภาพอธิบาย 4. EN 358: 2000 สายรัดนิรภัยสำหรับการทำงานและข้อจำกัด

จุดเชื่อมต่อที่ออกแบบมาเพื่อห้อยตัวผู้ใช้งานในพื้นที่ที่ติดตั้งงาน (ทำงานโดยห้อยตัวกับที่), หรือจัดไว้สำหรับผู้ทำงานในบ

ริเวณที่มีโอกาสตกได้(โดยการผูกเชือก). จุดเชื่อมต่อนี้จะต้องใช้ด้วยข้อจำกัดของระบบการทำงาน, ด้วยการตกที่ความสูง

ไม่เกิน: 0,5 m.

จุดเชื่อมต่อนี้ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับยับยั้งการตกซึ่งมีความสำคัญต่อสิ่งที่เสริมเข้าไปกับการทำงานหรือระ

บบที่จำกัดซึ่งรวมเข้ากับระบบยับยั้งการตก(เช่น ตาข่ายกันตก) หรือระบบป้องกันการตกส่วนบุคคล(เช่น มาตรฐาน EN 363

ระบบยับยั้งการตก).

4A. จุดเชื่อมต่อที่ตำแหน่งหน้าท้อง 

4B. จุดเชื่อมต่อด้านข้างสายรัดรอบเอว

จะต้องใช้ห่วงเชื่อมต่อทั้งสองด้านโดยการคลิบกับเชือกสั้นเพื่อตำแหน่งการทำงานระหว่างมันเสมอ.

เพื่อช่วยให้การรองรับแรงที่พื้นที่เท้าเหยียบได้สะดวกสบายขึ้นในขณะทำงาน. เมื่อทำการปรับตำแหน่งที่เชือกสั้นดูด

ซับแรงที่ตำแหน่งการทำงานแล้ว

จุดผูกยึดจะอยู่เหนือหรืออยู่ในระดับเดียวกับส่วนเอวของผู้ใช้งาน. เชือกสั้นจะต้องตึงเสมอและระยะห่าง

ของการตกอิสระต้องอยู่ท

 

0.5

 

ม.

4C. ข้อจำกัดจุดเชื่อมต่อด้านหลัง

จุดเชื่อมต่อด้านหลังบนสายรัดเอวมีข้อจำกัดให้ใช้เฉพาะการนำตัวผู้ใช้งานออกจากบริเวณที่มีความเสี่ยงสูงต

่อการตก(โดยระบบการผูกกับเชือก).

กฏการตรวจเช็คความยาวที่มีข้อจำกัดและ/หรือเชือกสั้นนิรภัยในการทำงานระหว่างที่ใช้อยู่.

F

การขึ้นลงด้วยระบบเชือก

ภาพอธิบาย 5. EN 813: 1997 สายรัดสะโพก

จุดเชื่อมต่อที่ตำแหน่งหน้าท้อง

มาตรฐาน EN 813: 1997 รับรองเกี่ยวกับสายรัดสะโพกที่ใช้ในการทำงาน, ข้อจำกัดการใช้, และระบบการใช้เชือกเมื่อจุดเชื่

อมต่อที่ต่ำจำเป็นต้องใช้.

ใช้จุดเชื่อมต่อที่ตำแหน่งหน้าท้องนี้กับตัวไต่ลง, เชือกสั้นดูดซับแรงการทำงานหรือเชือกสั้นนิรภัยที่ต่อเนื่อง.

จุดเชื่อมต่อนี้จะไม่ใช้เชื่อมต่อกับระบบยับยั้งการตก.

CROLL ตัวจับเชือกที่หน้าท้อง มาตรฐานEN 12841: 2006

ส่วนที่ใช้เกี่ยวข้องกัน

มาตรฐาน EN 12841: 2006 CROLL ตัวจับเชือกใช้กับเชือกแบบ type B เพื่อช่วยในการไต่ลงประกอบเชือกทำงาน.

ข้อควรระวัง, จะต้องใช้กับอุปกรณ์ type A backup device บนเชือก (ป้องกันภัย)เส้นที่สอง (เช่น ASAP ตัวจับเชือกยับยั้งการต

ก).

CROLL ตัวจับเชือกที่หน้าท้องไม่สามารถนำมาใช้เพื่อระบบป้องกันตกตามมาตรฐาน EN 363.

ขนาดของเชือก

ใช้กับเชือกขนาด 10-13 mm EN 1891 type A แบบ semi-static kernmantel.

ภาพอธิบาย 6. การติดตั้งบนเชือก

ดึงกลไกของตัวจับป้องกันภัยดันออกด้วยหัวแม่มือและนิ้วชี้. จนมันล็อคติดอยู่กับที่ลำตัวของอุปกรณ์. ตัวลูกเบี้ยวจะเปิ

ดค้างอยู่.

ใส่เชือกให้ตรงตามตำแหน่ง. ผลักตัวจับป้องกันภัยจนลูกเบี้ยวหมุนกลับไปดันตรงตำแหน่งที่ใส่เชือกไว้.

ตัวจับป้องกันภัยจะช่วยไม่ให้ลูกเบี้ยวถูกเปิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ.

การถอดเชือกออก

เลื่อนตัวอุปกรณ์ขึ้นบนเชือกพร้อมกับดึงกลไกตัวจับป้องกันภัยลงและดันออก.

ภาพอธิบาย 7. การเริ่มต้นใช้งาน

7A. การไต่ขึ้น

CROLL เป็นอุปกรณ์สำหรับไต่ขึ้นทำงานหรือการไต่ขึ้นเชือก. ทำหน้าที่บีบเกาะเชือกขณะที่เกิดแรงกดในการเคลื่อนไปตามทิ

ศทางทำให้ง่ายต่อการเลื่อนตัวขึ้นบนเชือก.

ฟันของมันจะกดลงบนปลอกเชือก, ทำให้ลูกเบี้ยวของตัวอุปกรณ์เกาะติดกับเชือก. ช่องเล็กๆในลูกเบี้ยวช่วยทำให้หนืด,

ไม่หลุดออก.

7B. การเคลื่อน CROLL ลงจากเชือก (ในบางกรณีที่ได้รับการยกเว้น)

เลื่อน CROLL ขึ้นไปบนเชือกเล็กน้อยและในเวลาเดียวกันให้ผลักตัวลูกเบี้ยวลงด้วยนิ้วชี้ทำให้ฟันของลูกเบี้ยวหลุดเลื่อน

ออกจากปลอกเชือก. อย่าทำใดๆ กับกลไกของตัวจับป้องกันภัยเพราะจะเป็นการเสี่ยงต่อการเปิดออกของลูกเบี้ยวโดยขา

ดการควบคุม.

7C. การตรวจเช็ค

ก่อนการใช้งานทุกครั้ง, ตรวจเช็คความถูกต้องของเชือกและส่วนประกอบของอุปกรณ์, การตรวจเช็คจะต้องทำด้วยการคว

บคุมเชือกของผู้ใช้งานเองเสมอ.

การเลื่อน CROLLขึ้นบนเชือก. จะต้องเลื่อนขึ้นบนเชือกได้โดยง่าย. ทำการดึงมันลงเพื่อเช็คการบีบเชือก.

7D. การป้องกัน

-ปิดตัวลูกเบี้ยวของ CROLL เมื่อไม่ได้ใช้งานเพราะอุปกรณ์อื่น ๆ

หรือสิ่งของอาจเข้าไปติดถ้ามันเปิดค้างอยู่.

-ข้อควรระวัง, อย่าให้มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปขัดขวางการทำงานของลูกเบี้ยว (ก้อนกรวด,โคลน, กิ่งไม้, เส้นใย, สายรัด,

เสื้อผ้า, สีทา, ฯลฯ.).

-ระวังอย่าให้ตัวจับป้องกันภัยบีบติดเสื้อผ้าและสายรัด.

-เชือกที่อยู่ระหว่าง CROLL และจุดผูกยึดจะต้องถูกดึงตึงอยู่เสมอ. ผู้ใช้งานจะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าจุดผูกยึดเชือกเสมอ.

-แรงตกกระชากจะต้องถูกดูดซับโดยเชือก:

จะต้องไม่ลืมว่าเชือกจะต้องมีคุณสมบัติในการดูดซับแรงในกรณีที่มีการตกกระชาก. ยิ่งอยู่ใกล้กับจุดผูกเท่าไหร่,

ประสิทธิภาพการดูดซับแรงของเชือกจะยิ่งลดลงมากเท่านั้น, และอาจจนกระทั่งถึงกับไม่มีเลย.

-ป้องกันรักษาเชือกให้พ้นจากสิ่งต่างๆ ที่จะทำให้เสียหาย (เช่น สิ่งของมีคม, พื้นผิวหยาบ, ฯลฯ).

-เชือกจะต้องลื่นไหลอย่างสะดวกและอิสระด้วยการใช้ CROLL. หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้ขัดขวางการลื่นไหล (เช่น ปมเชือก

หรือสภาพเก่าเปื่อย/การหลุดลุ่ยของเชือก, ฯลฯ.).

-ต้องไม่ลืมผูกปม stopper ที่ปลายเชือก.

ภาพอธิบาย 8. การไต่ขึ้นเชือก

-เชือกทำงาน: ใช้ CROLL และอุปกรณ์บีบจับเชือกตัวอื่น (เช่น ASCENSION ตัวมือจับเชือก) ด้วยการใช้แถบสายรัดคล้องเท้า

. ผูกยึดติดตัวคุณกับอุปกรณ์ไต่ขึ้นตัวที่สองด้วยเชือกเซฟที่เหมาะสม.

-เชือกเซฟ: ใช้อุปกรณ์แบบ type A.

G

ความเข้ากันได้: จุดผูกยึด / ตัวเชื่อมต่อ

ความเข้ากันไม่ได้ในการติดยึดเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดกับการยึดติดไม่ได้, การแตกหัก,หรือผลสะท้อนที่เกิดกับชิ้นส่

วนอื่นๆ ของอุปกรณ์.

คำเตือน, จุดผูกยึดบนสายรัดนิรภัยอาจเป็นเหมือนคันโยกเปิดประตูของตัวเชื่อมต่อได้.

เมื่อเชือกถูกดึงให้ตึงอย่างทันทีและ/หรือจากแรงกดภายนอกที่มีต่อระบบล็อค, และตัวเชื่อมต่อมีสภาพเก่าชำรุด,

ปลอกล็อคสามารถแตกหักและประตูล็อคอาจเปิดออกได้เอง.

เพื่อลดความเสี่ยงเหล่านี้, เช็คดูว่าตัวเชื่อมต่อของคุณมีสภาพสมบูรณ์พร้อมตลอดทุกเวลาเพื่อรับแรงกระชากของระบบ

(เชือกสั้น, อุปกรณ์ไต่ลง, ฯลฯ.).

และต้องทำให้แน่ใจว่าตัวเชื่อมต่อสามารถใช้เข้ากันได้กับจุดผูกยึด (รูปร่าง, ขนาด, ฯลฯ.) โดยหลีกเลี่ยงการใช้ตัวเชื่อมต่อที่มีแ

นวโน้มว่ามีสภาพไม่เหมาะสม (และมั่นคง)ในจุดผูกยึด.

เตือนความจำ

เพื่อความปลอดภัย, ฝึกให้เป็นนิสัยในการตรวจซ้ำในระบบของคุณ, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ตัวต่อเชื่อม. ทำระบบป้องกันที่สองเ

พื่อรองรับอีกชั้นหนึ่งสำหรับตำแหน่งการทำงานในระบบ.

มาตรฐาน EN 365: คำเตือน

ความเข้ากันได้

ตรวจเช็คอุปกรณ์นี้ว่าสามารถใช้ร่วมกันได้กับส่วนประกอบของอุปกรณ์อื่น ๆ, ศึกษาจากข้อมูลรายละเอียดอุปกรณ์นั้น.

คำเตือน, ในขณะที่ต้องใช้อุปกรณ์หลายอย่างประกอบกัน, อาจทำให้เกิดอันตรายได้ถ้าองค์ประกอบเพื่อความปลอดภัยของอุป

กรณ์บางชิ้นถูกกระทบกระเทือนโดยการทำงานของบางชิ้นส่วนของอุปกรณ์อื่น.

ติดต่อ Petzl หรือตัวแทนจำหน่ายถ้าไม่แน่ใจเรื่องความเข้ากันได้ของอุปกรณ์.

จุดผูกยึด: การทำงานที่สูง ตำแหน่งจุดผูกยึดของระบบจะต้องอยู่สูงกว่าผู้ใช้งาน

และจะต้องได้รับมาตรฐาน EN 795 ,และโดยเฉพาะความแข็งแรงที่จุดผูกยึดต้อง

ไม่ต่ำกว่า 10 kN.

แผนการกู้ภัย

คุณจะต้องมีแผนการกู้ภัยและรู้วิธีการทำได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่ประสบความยุ่งยากขึ้นในขณะที่ใช้อุปกรณ์นี้.

เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องฝึกฝนอย่างเพียงพอให้รู้ถึงเทคนิคการกู้ภัย.

ตัวเชื่อมต่อ

คาราไบเนอร์จะต้องใช้งานในสภาพที่ประตูถูกปิดและล็อคอยู่เสมอ. ด้วยการตรวจสอบอย่างเป็นระบบ ประตูจะถูกปิดโดยการ

กดด้วยมือ.

ทำการตรวจสอบตัวต่อเชื่อมตามข้อมูลเฉพาะที่ระบุในคู่มือการใช้.

ข้อมูลต่างๆ

ข้อควรระวังอันตราย, ไม่ให้ใช้อุปกรณ์นี้ร่วมกับวัสดุที่มีเนื้อหยาบสากหรือแหลมคม.

-ผู้ใช้งานจะต้องมีสภาพร่างกายที่พร้อมสำหรับการปฏิบัติงานที่สูงโดยการวินิจฉัยจากแพทย์. คำเตือน, การหยุดนิ่งหรือหมดส

ติอยู่ในสายรัดสะโพกอาจมีผลถึงบาดเจ็บสาหัสหรือเสียชีวิตได้ .

-ผู้ใช้ต้องเช็คให้แน่ใจว่าเครื่องหมายบนอุปกรณ์ยังสามารถมองเห็นได้โดยง่ายตลอดอายุการใช้งานของอุปกรณ์.

-ผู้ใช้ต้องตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ว่าสามารถใช้งานได้ตามระบบของกฎข้อบังคับและตามมาตรฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง

กับการประกอบการด้านความปลอดภัย.

-ข้อแนะนำสำหรับการใช้อุปกรณ์แต่ละชนิดที่ใช้ต่อเชื่อมกับอุปกรณ์นี้ต้องได้รับการยอมรับ.

-ข้อมูลวิธีการใช้งานจะต้องเอื้ออำนวยต่อผู้ใช้อุปกรณ์นี้. ถ้าอุปกรณ์นี้ได้ถูกจำหน่ายไปยังนอกอาณาเขตของประเทศที่เป็นแห

ล่งต้นกำเนิด ผู้แทนจำหน่ายต้องจัดทำข้อแนะนำในภาษาของประเทศที่อุปกรณ์ได้ถูกนำไปใช้งาน.

H

ข้อมูลทั่วไป

อายุการใช้งาน

คำเตือน, ในสถานการณ์ที่รุนแรง อายุการใช้งานของอุปกรณ์อาจลดลงได้เพียงการใช้งานแค่ครั้งเดียว; ยกตัวอย่างเช่น,

ถ้าถูกสัมผัสกับสิ่งต่อไปนี้: สารเคมี, อยู่ในอุณหภูมิที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด, วัตถุสิ่งของมีคม, การตกกระชากที่รุนแรงเกินขี

ดจำกัด, ฯลฯ.

หัวข้อ ความเป็นไปได้ อายุการใช้งานของอุปกรณ์ Petzl เป็นไปได้ดังนี้: ได้ถึง 10 ปีนับจากวันที่ผลิต สำหรับพลาสติคและวัส

ดุสิ่งทอ. ไม่จำกัดอายุสำหรับผลิตภัณฑ์โลหะ.

ตามข้อเท็จจริง อายุการใช้งานของอุปกรณ์อาจขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์อื่น(ให้ดูจากข้อความที่ระบุว่า

“เมื่อไรควรเปลี่ยนอุปกรณ์ของท่าน”)

หรือเมื่ออุปกรณ์นั้นตกรุ่นและล้าสมัย.ตามข้อเท็จจริง อายุการใช้งานของอุปกรณ์อาจขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์อื่น เช่น:

ความเข้มข้นของการใช้, ความถี่และสภาพแวดล้อม, ความสามารถของผู้ใช้, อุปกรณ์นั้นได้รับการเก็บรักษาอย่างไร,ฯลฯ.

ควรตรวจสอบอุปกรณ์เป็นระยะ ๆ เพื่อดูร่องรอยชำรุดและ/หรือ

ความเสื่อมสภาพ.

นอกเหนือจากการตรวจสภาพอุปกรณ์ตามปกติก่อนและระหว่างการใช้งาน, จะต้องทำการตรวจเช็คอุปกรณ์โดยผู้เชี่ยวชา

ญเฉพาะเป็นประจำ อย่างน้อยทุก ๆ 12 เดือนต่อครั้ง. การตรวจสอบอุปกรณ์โดยผู้เชี่ยวชาญจะต้องมีกำหนดอย่างน้อย ทุก

ๆ 12 เดือน. ความถี่และความคุมเข้มในการตรวจสอบอุปกรณ์ต้องกระทำตามข้อมูลเฉพาะและความรุนแรงของการใช้.

สิ่งที่จะช่วยให้ทราบข้อมูลของอุปกรณ์ได้ดีคือ, ทำบันทึกแยกตามชิ้นส่วนของอุปกรณ์ทั้งหมดเพื่อให้รู้ประวัติการใช้งานของ

มัน. ผลของการตรวจสอบอุปกรณ์ ต้องบันทึกไว้ในเอกสารการตรวจสอบ (บันทึก การตรวจสอบ). เอกสารการต

รวจสอบต้องระบุหัวข้อต่อไปนี้ : ชนิดของอุปกรณ์, รุ่นแบบ, ชื่อและที่อยู่ของโรงงานผู้ผลิต หรือตัวแทนจำหน่าย,

เครื่องหมายหรือสัญญลักษณ์ (หมายเลขกำกับ หรือ หมายเลขเฉพาะ), ปีที่ผลิต, วันที่สั่งซื้อ, วันที่ใช้งานครั้งแรก, ชื่อของผู้ใช้,

รายละเอียดอื่น ๆ เช่นการเก็บรักษาและความถี่ของการใช้, ประวัติการตรวจเช็ค (วันท / ข้อมูลบันทึกเกี่ยวกับปัญหาจากกา

รใช้ / ชื่อและลายเซ็นต์ของผู้เชี่ยว

ชาญซึ่งได้ทำการตรวจเช็ค / วันที่กำหนดการตรวจเช็คครั้งต่อไป). ดูตัวอย่างและรายการทำบันทึกการตรวจสอบ

และข้อมูลอื่น ๆของอุปกรณ์ได้ที่ www.petzl.com/ppe

ควรยกเลิกการใช้อุปกรณ์เมื่อไร

ยกเลิกการใช้อุปกรณ์ทันที ถ้า:

-ไม่ผ่านมาตรฐานการตรวจสอบ (ในการตรวจสอบก่อน และระหว่างการใช้ และ ในการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ),

-ได้มีการตกกระชากอย่างรุนแรงเกินขีดจำกัด,

-ไม่สามารถรู้ถึงประวัติการใช้งานมาก่อน,

-ครบอายุการใช้งาน 10 ปี ของวัสดุที่ทำด้วยพลาสติกหรือสิ่งทอ,

-เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับส่วนประกอบ.

ให้ทำลายอุปกรณ์ที่เลิกใช้แล้ว เพื่อป้องกันการนำกลับมาใช้อีก.

ผลิตภัณฑ์ที่ตกรุ่นหรือล้าสมัย

มีหลายเหตุผลที่ทำให้อุปกรณ์ล้าสมัย และถูกเลิกใช้ก่อนที่จะหมดอายุการใช้งานตามที่ระบุไว้. ตัวอย่างประกอบ: เปลี่ยนแปลง

ข้อมูลของมาตรฐานที่ใช้, เปลี่ยนกฏเกณฑ์, หรือโดยข้อกฏหมาย, การพัฒนาของเทคนิคใหม่, ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้กับ

อุปกรณ์อื่น ๆ, ฯลฯ.

การปรับปรุง, การซ่อมแซม

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงใด ๆ, การทำเพิ่มเติม, หรือการซ่อมแซมอุปกรณ์นอกเหนือจากความยินยอมโดย Petzl

เป็นสิ่งผิดกฏหมาย: เป็นความเสี่ยงต่อการลดลงของประสิทธิภาพในการใช้งานของอุปกรณ์.

การเก็บรักษา, การขนส่ง

เก็บรักษาสายรัดนิรภัยไว้ในถุงหรือกล่องเพื่อช่วยป้องกันความเสี่ยงจากรังสี UVในแสงแดด, ละอองน้ำ,วัสดุสารเคมี,ฯลฯ.

การรับประกัน

ผลิตภัณฑ์นี้ รับประกัน 3 ปีต่อความบกพร่องของวัสดุที่ใช้ในการผลิตหรือจากขั้นตอนการผลิต. ข้อยกเว้นจากการรับประกัน:

การสึกหรอและฉีกขาดตามปกติ, การดัดแปลงแก้ไข, การเก็บที่ผิดวิธี, ขาดการบำรุงรักษา, การเสียหายจากอุบัติเหตุ,

ความละเลย, หรือการนำไปใช้งานผิดประเภท.

PETZL ไม่ต้องรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้น,ทั้งทางตรง, ทางอ้อม หรือ อุบัติเหตุ, หรือจากความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้น หรือ

ผลจากการใช้ผลิตภัณฑ์นี้.

Advertising